การกำหนดสัญลักษณ์ เลขลำดับ

การใช้ตัวอักษรพิเศษ

     1) คำสั่ง &ชื่อของตัวอักษร; เป็นการกำหนดใช้ชื่อตัวอักษรพิเศษที่ต้องการ เช่น &lt

     2) คำสั่ง &#รหัสของตัวอักษร; เป็นการกำหนดตัวอักษรด้วยรหัสของตัวอักษรเอง เช่น <

การกำหนดสัญลักษณ์หน้าหัวข้อ

     1) คำสั่ง <UL TYPE = “DISC”> เป็นการกำหนดวงกลมทึบ (●) หน้าข้อความ

     2) คำสั่ง <UL TYPE = “CIRCLE”>   เป็นการกำหนดวงกลมโปร่ง (○) หน้าข้อความ

     3) คำสั่ง <UL TYPE = “SQUARE”>   เป็นการกำหนดสี่เหลี่ยมทึบ (■) หน้าข้อความ

การกำหนดหมายเลขหน้าหัวข้อ (OL-Ordered List)

     1) คำสั่ง <OL TYPE = “1″> เป็นการกำหนดหมายเลขหน้าหัวข้อเป็นเลขอารบิก

     2) คำสั่ง <OL TYPE = “A”> เป็นการกำหนดหมายเลขหน้าหัวข้อเป็นตัวอักษรพิมพ์ใหญ่

     3) คำสั่ง <OL TYPE = “a”> เป็นการกำหนดหมายเลขหน้าหัวข้อเป็นตัวอักษรพิมพ์เล็ก

     4) คำสั่ง <OL TYPE = “I”> เป็นการกำหนดหมายเลขหน้าหัวข้อเป็นตัวอักษรโรมันพิมพ์ใหญ่

     5) คำสั่ง <OL TYPE = “i”> เป็นการกำหนดหมายเลขหน้าหัวข้อเป็นตัวอักษรโรมันพิมพ์เล็ก

การกำหนดรายการแบบคำศัพท์ (Definition List)

   คำสั่ง <DL> เป็นการกำหนดหัวข้อใหญ่

            <DT> เป็นการกำหนดหัวข้อย่อย

            <DD> เป็นการกำหนดข้อความที่นำมาอธิบายหัวข้อย่อย โดยจะนำมาต่อท้ายของหัวข้อย่อย และมีการทำย่อหน้าเข้าไป

            </DL> เป็นการปิดหัวข้อใหญ่รูปภาพ

การกำหนดรูปแบบตัวอักษร

การกำหนดหัวเรื่อง (Heading) <Hx>..</Hx>
      ในการสร้างเวปเพจ เรามักกำหนดหัวเรื่อง (Heading) ไว้ด้านบนสุด เนื่องจากจะเป็นที่สังเกตุ มองเห็นได้ง่ายที่สุด โดยภาษา HTML แยกขนาดของหัวเรื่อง (Heading) ได้ 6 ระดับ ซึ่ง H1 จะใหญ่ที่สุด จนถึง H6 จะมีขนาดเล็กที่สุด
คำสั่งที่ใช้ในการกำหนดหัวเรื่อง (Heading) เขียนได้ดังนี้
<Hx>…..<Hx>
โดย x เท่ากับ ตัวเลข 1- 6 ซึ่งเป็นขนาดของตัวอักษร

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง ผลลัพธ์
<!– ไม่ลงมือทำ แล้วจะมีประสบการณ์ได้อย่างไร –> 
<html> 
<head> 
<title></title> 
<body> 
<H1>Heading 1 </H1> 
<H2>Heading 2</H2> 
<H3>Heading 3</H3> 
<H4>Heading 4</H4> 
<H5>Heading 5</H5> 
<H6>Heading 6</H6> 
</body> 
</html>

Heading 1

Heading 2

Heading 3

Heading 4

Heading 5
Heading 6

การกำหนดขนาดตัวอักษร <Font Size=n>..</Font>
      ให้กำหนดขนาดหัวข้อด้วยคำสั่ง <Hx> เราจะพบว่าส่วนของข้อความที่เขียนต่อกันนั้นจะอยู่คนละบรรทัดกัน ไม่สามารถที่จะทำให้ตัวอักษรมีขนาดที่ต่างๆกันให้อยู่ในบรรทัดเดียวกันได้ ด้วยเหตุนี้เรามาลองใช้คำสั่ง <Font size=value>กันดูนะครับ โดย value คือจำนวนตัวเลข 1- 7 (ขนาดของตัวอักษรมี 7 ขนาด) โดยตัวเลขที่มาก หมายถึงขนาดที่มากกว่า ซึ่งตรงกันข้ามกับ <Hx>

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง ผลลัพธ์
<!–จงสร้างเพื่อผู้อื่น อย่าสร้างเพื่อตนเอง –>
<html> 
<head> 
<title></title> 
<body text=”#FF0000″ >
<Basefont size=4> 
<font size=+1>font size = 5</font><br> 
<font size=+2>font size = 6</font><br> 
<font size=+3>font size = 7</font><br> 
<font size=-1>font size = 3</font><br> 
<font size=-2>font size = 2</font><br> 
<font size=-3>font size = 1</font><br> 
<font size=5>font size = 5</font><br> 
</body> 
</html>
font size = 5
font size = 6
font size = 7
font size = 3
font size = 2
font size = 1
font size = 5

รูปแบบตัวอักษรและชนิดตัวอักษร
      มีอยู่สองแบบคือ แบบ Physical Styles และ Logical Styles

Physical Styles
ลักษณะ/รูปแบบตัวอักษร รูปแบบคำสั่ง ความหมาย
Bold <B>…</B> ตัวอักษรแบบหนา
Italic <I>…</I> ตัวอักษรแบบเอียง
Underline <U>…</U> ตัวอักษรแบบขีดเส้นใต้
TYPEWRITER TEXT <TT>…</TT> ตัวอักษรแบบตัวพิมพ์
Logical Styles
ลักษณะ/รูปแบบตัวอักษร รูปแบบคำสั่ง ความหมาย
Address <address> … </address> แสดงข้อมูลที่เกี่ยวกับที่อยู่
Citaions <CITE> … </CITE> ใช้แสดงข้อมูลอ้างอิงต่างๆ
Computer Code <CODE> … </CODE> ใช้กับโค้ดของคอมพิวเตอร์ มักมีความกว้างคงที่
Emphasis <EM> … </EM> ตัวอักษรแบบเอียง
Keyboard <KDB> … </KDB> ใช้เมื่อผู้ใช้พิมพ์ตัวอักษรจากคีย์บอร์ด ตัวอักษรจะหนาขึ้น
Samples <SAMP> … </SAMP> ใช้แสดงสถานะของคอมพิวเตอร์ ใช้ตัวอักษรในรูปแบบเดิม แต่เพิ่มความหนาของตัวอักษร
Strong <STRONG> … </STRONG> ใช้เน้นข้อความที่ต้องการเน้นมากๆ
Variable Name <VAR> … </VAR> ใช้กับข้อมูลที่จะถูกเปลี่ยนแปลง

Blockquote

<BLOCKQUOTE> … </BLOCKQUOTE> แสดงผลโดยทำการเพิ่มย่อหน้า
DFN <DFN> … </DFN> ใช้แสดงค่าที่กำหนดในรูปของตัวอักษรแบบเอียง


การใช้ตัวอักษรแบบพิเศษ

      เนื่องจากการเขียน HTML เราไม่สามารถให้เวบบราวเซอร์ แสดงตัวอักษรที่ไป ตรงกับคำสั่งได้เช่นตัวอักษร <, >, & , ” เป็นต้น ตัวอักษรเหล่านี้ไม่สามารถพิมพ์ลงไปตรงๆได้ เนื่องจากเวบบราวเซอร์จะตีความหมายว่า ตัวอักษรเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของคำสั่ง
      ดังนั้นการที่จะให้ตัวอักษรเหล่านี้ไปปรากฏบนเว็บบราว์เซอร์ได้ ต้องเขียนเป็น เครื่องหมายพิเศษ ซึ่งสามารถเขียนได้ทั้งใช้ตัวเลขรหัสแอสกี้ และแบบใช้รหัสตัวอักษร เช่น เครื่องหมาย < หากใช้รหัสแบบตัวเลขให้ใช้ < หรือถ้าอยากใช้แบบตัวอักษรให้ใช้ &lt; เป็นต้น

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง ผลลัพธ์
<!–ท้อแท้ได้ แต่อย่าท้อถอย –>
<html>
<head><title> Web Builder </title></head> 
<body bgcolor=pink text=”black”> 
(©) This is Copyright sign <br>. 
(à) Small a, grave accent.<br> 
(&#agrave;) Small a, grave accent.<br> 
</body> 
</html>
(©) This is Copyright sign. 
(à) Small a, grave accent. 
(à) Small a,grave accent.
ดูรหัสเพิ่มเติม

การจัดวางตำแหน่งข้อความ

      ในการจัดวางตำแหน่งตัวอักษรให้ชิดซ้าย ชิดขวา หรือให้อยู่ตรงกลางนั้น เราใช้แอตตริบิวท์ align=” Left | Center | Right” ลงไปภายในtag <p>

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง ผลลัพธ์
<!–เป็นผู้ให้สบายใจกว่าเป็นผู้รับ –>
<!–การจัดตำแหน่งข้อความ –> 
<html> 
<head><title>Position</title></head> 
<body> 
<p align=left> Hello left.</p> 
<p align=center>Hello center.</p>
<p align=right>Hello right.</p> 
</body> 
</html>

Hello left.

Hello center.

Hello right.

การจัดข้อความให้อยู่ตรงกลาง

      ในการใช้แอตทริบิวต์ Align=center นั้น จะจัดข้อความ ได้เฉพาะชุดอักษรที่ระบุคำสั่งนี้ไปเท่านั้น แต่ถ้าเราต้องการจัดให้ข้อความนี้อยู่ตรงกลาง โดยไม่ต้องเขียนคำสั่งนี้หลายหน ควรใช้คำสั่ง <Center> … </Center>

ตัวอย่าง

ตัวอย่าง ผลลัพธ์
<!–อย่าหวังแต่จะคอยให้ผู้อื่นมาช่วยเรา เราควรช่วยผู้อื่นดีกว่า –> 
<html> 
<head><title>Position center</title></head> 
<body bgcolor=”#F0FFFF” text=”#FF00FF”> 
<center><h3>Web Builder Design</h3></center>
<center> พอแล้วเพียงพอแล้ว ตัดใจซะดีกว่า <br>
อย่ามัวเปลืองเวลา กับคนไม่มีใจ<br>
กับคนไม่รักจริง กับคนที่ใจร้าย<br>
ไม่มีทางใด ต้องห้ามใจอย่างเดียว<br>
ลืมเขาจงลิมเขา สั่งใจให้ทำตาม ……<br></center>

<center>Copyright by Peerasan</center> 
</body> 
</html>

Web Builder Design

พอแล้วเพียงพอแล้ว ตัดใจซะดีกว่า 
อย่ามัวเปลืองเวลา กับคนไม่มีใจ
กับคนไม่รักจริง กับคนที่ใจร้าย
ไม่มีทางใด ต้องห้ามใจอย่างเดียว
ลืมเขาจงลืมเขา สั่งใจให้ทำตาม ……

 

Copyright by Peerasan

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษา HTML

ภาษา HTML

HTML ย่อมาจาก hyper text markup language เป็นโปรเเกรมภาษาประเภทหนึ่งสำหรับเเสดงข้อความต่างๆ ในรูปแบบของข้อความ รูปภาพ หรือภาพเคลื่อนไหว ฯลฯ เเละสามารถเชื่อมโยงข้อมูลไปยังเอกสารอื่นได้ที่มีความสามารถสูงเหนือกว่าเอกสารมาแสดงบนหน้าจอภาพในระบบอินเทอร์เน็ตได้เรียกดูผลได้บนโปรเเกรมเบราเซอร์ได้เลย

โครงสร้างของภาษา HTML

โครงสร้างของไฟล์ภาษา HTML มี 2 ส่วนคือ

  1. ส่วนที่เป็นข้อมูลที่ต้องการเเสดง เช่น ข้อความ ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น
  2. ส่วนที่เป็นคำสั่งเเท็ก (TAG) เพื่อใช้กำหนดลักษณะของข้อมูล โดยกำหนดเป็นเเท็กแท็กเปิดเเละเเท็กปิด เช่นการวางตำเเหน่งของข้อมูล ขนาดของข้อความ การกำหนดสีของข้อความ

ส่วนหัว (HEAD)

ประกอบด้วยการกำหนดชื่อของเว็บเพจที่เรียกว่า title บอกให้ทราบว่าเอกสารนั้นเกี่ยวกับอะไร โดยคำสั่ง <HEAD> เป็นการเริ่มต้นชื่อเรื่องเอกสาร ภายในคำสั่งประกอบด้วยคำสั่ง <title> อีกทีเพื่อเเสดงชื่อของเอกสารนั้น

ความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต (Internet)

อินเตอร์เน็ต(Internet)
กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมโยงติดต่อเข้าด้วยกันภายใต้มาตรฐานเดียวกัน อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งเรียนรู้ขนาดใหญ่ ที่รวบรวมความรู้ทุก ๆ ด้านให้ผู้ที่ต้องการค้นคว้าหาข้อมูลเข้าไปค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปยังห้องสมุดด้วยตนเอง

ประวัติความเป็นมาของ internet
อินเตอร์เน็ต กำเนิดขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ. 1969 (2512) โดยพัฒนามาจากอาร์พาร์เน็ต ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นเครือข่ายในความดูแลรับผิดชอบของสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูง (Advanced Research Projects Agency) หรือเรียกชื่อย่อว่า อาร์พา (ARPA) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริการูปภาพ

การเพิ่มตารางลงในภาพนิ่ง

คุณลักษณะของตารางได้รับการเพิ่มเติมอย่างมีนัยสำคัญใน ระบบ Microsoft Office 2007 ในปัจจุบัน เป็นเรื่องง่ายที่จะนำตารางจาก Microsoft Office Word 2007 หรือ Microsoft Office Excel 2007 มาใช้ใหม่ในงานนำเสนอ Microsoft Office PowerPoint 2007 หลังจากคุณสร้างหรือจัดรูปแบบตารางใน Office Word 2007 หรือ Office Excel 2007 คุณจะสามารถวางตารางลงในงานนำเสนอ Office PowerPoint 2007 โดยไม่ต้องปรับลักษณะที่ปรากฏหรือการจัดรูปแบบของตาราง หลังจากคุณเพิ่มตารางลงในงานนำเสนอของคุณ คุณจะสามารถใช้คุณลักษณะของตารางใหม่ใน Office PowerPoint 2007 ได้เพื่อเปลี่ยนแปลงลักษณะตารางหรือเพิ่มลักษณะพิเศษได้อย่างรวดเร็ว

เพิ่มตาราง

  1. เลือกภาพนิ่งที่คุณต้องการเพิ่มตาราง
  2. บนแท็บ แทรก ในกลุ่ม ตาราง ให้คลิก ตาราง

รูปแท็บ แทรก

  1. ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
    • ย้ายตัวชี้เพื่อเลือกจำนวนแถวและคอลัมน์ที่คุณต้องการ แล้วคลิก
    • คลิก แทรกตาราง แล้วใส่จำนวนในรายการ จำนวนคอลัมน์ และ จำนวนแถว
  2. เมื่อต้องการเพิ่มข้อความลงในเซลล์ตาราง ให้คลิกเซลล์ จากนั้นใส่ข้อความของคุณ

หลังจากคุณใส่ข้อความของคุณ ให้คลิกภายนอกตาราง

 เคล็ดลับ   เมื่อต้องการเพิ่มแถวที่ตำแหน่งท้ายสุดของตาราง ให้คลิกเซลล์สุดท้ายของแถวสุดท้าย แล้วกด TAB

ด้านบนของหน้า ด้านบนของหน้า

คัดลอกตารางจาก Office Excel 2007 หรือ Office Word 2007

  1. ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
    • เมื่อต้องการคัดลอกตารางจากแผ่นงานของ Office Excel 2007 ให้คลิกเซลล์ด้านซ้ายบนของตารางที่คุณต้องการคัดลอก จากนั้นลากเพื่อเลือกตาราง
    • เมื่อต้องการคัดลอกตารางจากเอกสาร Office Word 2007 ให้คลิกตารางที่คุณต้องการคัดลอก จากนั้นภายใต้ เครื่องมือตารางบนแท็บ เค้าโครง ในกลุ่ม ตาราง ให้คลิกลูกศรถัดจาห เลือก แล้วคลิก เลือกตาราง

รูปแท็บ เค้าโครงเครื่องมือตาราง ของ Word

  1. บนแท็บ หน้าแรก ในกลุ่ม คลิปบอร์ด ให้คลิก คัดลอก

รูปกลุ่ม คลิปบอร์ด

  1. ในงานนำเสนอ Office PowerPoint 2007 ของคุณ ให้เลือกภาพนิ่งที่คุณต้องการคัดลอกตารางลงไป จากนั้นบนแท็บ หน้าแรก ให้คลิก วาง

 เคล็ดลับ   คุณยังสามารถคัดลอกและวางตารางจากงานนำเสนอของคุณลงบนแผ่นงานหรือลงในเอกสารได้อีกด้วย

ด้านบนของหน้า ด้านบนของหน้า

วาดตาราง

  1. เลือกภาพนิ่งที่คุณต้องการเพิ่มตาราง
  2. บนแท็บ แทรก ในกลุ่ม ตาราง ให้คลิกกลุ่ม ตาราง แล้วคลิก วาดตาราง

รูปแท็บ แทรก

ตัวชี้เปลี่ยนเป็นดินสอ ดินสอถูกใช้วาดตาราง

  1. เมื่อต้องการกำหนดขอบของตารางภายนอก ให้ลากในแนวทแยงจนได้ขนาดตามที่คุณต้องการ แล้วลากเพื่อสร้างขอบของคอลัมน์และแถว

การวาดตาราง

  1. เมื่อต้องการลบเส้นออกจากเซลล์ แถว หรือคอลัมน์ ภายใต้ เครื่องมือตาราง บนแท็บ ออกแบบ ในกลุ่ม วาดเส้นขอบ ให้คลิกยางลบ หรือกด SHIFT ค้างไว้

แท็บ ออกแบบ ของ เครื่องมือตาราง

ตัวชี้เปลี่ยนเป็นยางลบ ยางลบถูกใช้วาดตาราง.

  1. คลิกเส้นที่คุณต้องการลบ
  2. เมื่อคุณวาดตารางเสร็จสิ้น ให้คลิกเซลล์ แล้วใส่ข้อความของคุณ

ด้านบนของหน้า ด้านบนของหน้า

แทรกตารางจาก Office Excel 2007

คุณสามารถสร้างตาราง Office Excel 2007 ใหม่ใน Office PowerPoint 2007 หรือคุณสามารถคัดลอกและวางตารางที่มีอยู่จาก Office Excel 2007 หรือ Office Word 2007 ลงในงานนำเสนอของคุณได้

เมื่อคุณแทรกตาราง Office Excel 2007 ใหม่ลงในงานนำเสนอของคุณ คุณสามารถหาประโยชน์จากหน้าที่การใช้งานของตาราง Excel ได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเปลี่ยนชุดรูปแบบของงานนำเสนอ ชุดรูปแบบที่นำไปใช้กับตารางจะไม่ถูกปรับปรุง เนื่องจากตารางเป็นวัตถุฝังตัว OLEนอกจากนี้ คุณไม่สามารถแก้ไขตารางโดยใช้ตัวเลือกใน Office PowerPoint 2007 ได้

  1. เลือกภาพนิ่งที่คุณต้องการแทรกตารางลงไป
  2. บนแท็บ แทรก ในกลุ่ม ตาราง ให้คลิก ตาราง แล้วคลิก กระดาษคำนวณ Excel

รูปแท็บ แทรก

  1. เมื่อต้องการเพิ่มข้อความลงในเซลล์ตาราง ให้คลิกเซลล์ จากนั้นใส่ข้อความของคุณ

หลังจากคุณใส่ข้อความของคุณ ให้คลิกภายนอกตาราง

 เคล็ดลับ   เมื่อต้องการแก้ไขตาราง Excel หลังจากที่คุณคลิกด้านนอกตาราง ให้คลิกสองครั้งที่ตาราง

ด้านบนของหน้า ด้านบนของหน้า

นำไปใช้หรือเปลี่ยนแปลงลักษณะตาราง

ลักษณะตาราง (หรือลักษณะด่วน) เป็นการรวมกันของตัวเลือกการจัดรูปแบบที่แตกต่างกัน รวมทั้งการรวมสีซึ่งได้รับมาจากสีของชุดรูปแบบของงานนำเสนอ ตารางใดๆ ที่คุณเพิ่มจะนำลักษณะตารางไปใช้โดยอัตโนมัติ รูปขนาดย่อของลักษณะตารางจะปรากฏในแกลเลอรีลักษณะด่วน ในกลุ่ม ลักษณะตาราง เมื่อคุณวางตัวชี้ของคุณบนรูปขนาดย่อ ลักษณะด่วน คุณจะสามารถเห็นได้ว่าลักษณะด่วนมีผลกระทบต่อตารางของคุณอย่างไร

  1. คลิกตารางที่คุณต้องการนำลักษณะตารางใหม่หรือลักษณะตารางอื่นไปใช้
  2. ภายใต้ เครื่องมือตาราง บนแท็บ ออกแบบ ในกลุ่ม ลักษณะตาราง ให้คลิกลักษณะตารางที่คุณต้องการ เมื่อต้องการดูลักษณะตารางเพิ่มเติม ให้คลิกปุ่ม เพิ่มเติมรูปปุ่ม

เมื่อคุณวางตัวชี้ของคุณบนรูปขนาดย่อของลักษณะด่วน คุณสามารถเห็นวิธีที่ลักษณะด่วนมีผลต่อตารางของคุณได้

 หมายเหตุ 

  • เมื่อต้องการเอาลักษณะตารางออก ภายใต้ เครื่องมือตาราง บนแท็บ ออกแบบ ในกลุ่ม ลักษณะตาราง ให้คลิกปุ่ม เพิ่มเติมรูปปุ่ม จากนั้นคลิก ล้างตาราง
  • ถ้าคุณต้องการแก้ไขตารางของคุณโดยใช้ PowerPoint รุ่นก่อนหน้า หลังจากที่คุณคลิกปุ่ม เพิ่มเติมรูปปุ่ม อย่าใช้ลักษณะใดๆ ภายใต้เหมาะสมที่สุดสำหรับเอกสาร ยกเว้นสองรายการแรกทางด้านซ้าย (ไม่มีลักษณะ ไม่มีเส้นตาราง และ ไม่มีลักษณะ เส้นตาราง) ลักษณะส่วนใหญ่ภายใต้ เหมาะสมที่สุดสำหรับเอกสาร จะทำให้ตารางถูกแปลงเป็นรูปภาพเมื่อคุณบันทึกงานนำเสนอของคุณเป็นแฟ้มใน PowerPoint รุ่นก่อนหน้า
  • คุณสามารถเปลี่ยนแปลงเส้นกรอบหรือเส้นขอบของตารางของคุณ หรือเพิ่มการเติมหรือลักษณะพิเศษลงในเซลล์ของตารางของคุณได้
  • ข้อความในตารางจะไม่ปรากฏบนแท็บ เส้นกรอบ (ในบานหน้าต่างด้านซ้ายสุดในหน้าต่างโปรแกรม ในมุมมองปกติ) จะมีข้อความในตัวยึดข้อความปรากฏบนขึ้นแท็บ เส้นกรอบ เท่านั้น

 เคล็ดลับ   เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงลักษณะของข้อความในเซลล์ตารางหรือทั้งตาราง ให้เลือกตัวเลือกบนแท็บ หน้าแรก ในกลุ่ม แบบอักษร หรือตัวเลือกภายใต้ เครื่องมือตาราง บนแท็บ ออกแบบ ในกลุ่ม ลักษณะอักษรศิลป์

ด้านบนของหน้า ด้านบนของหน้า

งานพื้นฐานใน PowerPoint 2010

 Image

PowerPoint คืออะไร

PowerPoint 2010 คือโปรแกรมประยุกต์แบบภาพและกราฟิก ที่มีจุดประสงค์หลักในการใช้เพื่อสร้างงานนำเสนอ PowerPoint ทำให้คุณสามารถสร้าง ดู และแสดงการนำเสนอภาพนิ่งที่รวมข้อความ รูปร่าง รูปภาพ กราฟ ภาพเคลื่อนไหว แผนภูมิ วิดีโอ และอื่นๆ อีกมากมาย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณลักษณะเฉพาะของ PowerPoint 2010 ให้ดูที่ มีอะไรใหม่ใน PowerPoint 2010

การค้นหาและนำแม่แบบไปใช้

PowerPoint 2010 ทำให้คุณสามารถนำแม่แบบที่มีอยู่แล้วภายในหรือแม่แบบที่คุณกำหนดเองไปใช้ได้ ตลอดจนค้นหาแม่แบบที่หลากหลายได้จากแม่แบบของนักออกแบบที่มีอยู่บน   Office.com Office.com มีแม่แบบ PowerPoint ที่เป็นที่นิยมซึ่งมีให้เลือกอย่างหลากหลาย รวมถึงแม่แบบ งานนำเสนอ และ ภาพนิ่งการออกแบบ

เมื่อต้องการค้นหาแม่แบบใน PowerPoint 2010 ให้ทำดังต่อไปนี้

  1. บนแท็บ แฟ้ม ให้คลิก สร้าง
  2. ภายใต้ แม่แบบและชุดรูปแบบที่พร้อมใช้งาน ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
  • เมื่อต้องการนำแม่แบบที่คุณได้ใช้ล่าสุดไปใช้ใหม่ ให้คลิก แม่แบบล่าสุด คลิกแม่แบบที่คุณต้องการ แล้วคลิก สร้าง
  • เมื่อต้องการใช้แม่แบบที่คุณได้ติดตั้งไว้แล้ว ให้คลิก แม่แบบของฉัน จากนั้นเลือกแม่แบบที่คุณต้องการ แล้วคลิก ตกลง
  • เมื่อต้องการใช้แม่แบบที่มีอยู่แล้วภายในแม่แบบใดแม่แบบหนึ่งที่ติดตั้งด้วย PowerPoint ให้คลิก แม่แบบตัวอย่าง คลิกแม่แบบที่คุณต้องการ แล้วคลิก สร้าง
  • เมื่อต้องการค้นหาแม่แบบบน Office.com ภายใต้ แม่แบบ Office.com ให้คลิกประเภทแม่แบบ แล้วเลือกแม่แบบที่คุณต้องการ จากนั้นคลิก ดาวน์โหลด เพื่อดาวน์โหลดแม่แบบจาก Office.com ลงในคอมพิวเตอร์ของคุณ

รายการแม่แบบในมุมมอง Backstage ของ PowerPoint

 หมายเหตุ    นอกจากนี้ คุณยังสามารถค้นหาแม่แบบใน Office.com จากภายใน PowerPoint ได้อีกด้วย ในกล่อง ค้นหาแม่แบบใน Office.com ให้พิมพ์คำที่ใช้ค้นหาอย่างน้อยหนึ่งคำ แล้วคลิกปุ่มลูกศรเพื่อค้นหา

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการค้นหาและนำแม่แบบไปใช้ ให้ดูที่ การนำแม่แบบไปใช้กับงานนำเสนอของคุณ

ด้านบนของหน้า ด้านบนของหน้า

การสร้างงานนำเสนอ

  1. คลิกแท็บ แฟ้ม แล้วคลิก สร้าง
  2. เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
  • คลิก งานนำเสนอเปล่า แล้วคลิก สร้าง
  • นำแม่แบบหรือชุดรูปแบบไปใช้ ไม่ว่าจะเป็นแม่แบบที่มีอยู่แล้วภายในของ PowerPoint 2010 หรือที่ดาวน์โหลดจาก Office.com โปรดดูที่ การค้นหาและนำแม่แบบไปใช้ ในบทความนี้

ด้านบนของหน้า ด้านบนของหน้า

การเปิดงานนำเสนอ

  1. คลิกแท็บ แฟ้ม แล้วคลิก เปิด
  2. ในบานหน้าต่างด้านซ้ายของกล่องโต้ตอบ เปิด ให้คลิกไดรฟ์หรือโฟลเดอร์ที่มีงานนำเสนอที่คุณต้องการ
  3. ในบานหน้าต่างด้านขวาของกล่องโต้ตอบ เปิด ให้เปิดโฟลเดอร์ที่มีงานนำเสนอ
  4. คลิกงานนำเสนอ แล้วคลิก เปิด

 หมายเหตุ   ตามค่าเริ่มต้นแล้ว PowerPoint 2010 จะแสดงเฉพาะงานนำเสนอ PowerPoint เท่านั้นในกล่องโต้ตอบ เปิด เมื่อต้องการดูแฟ้มชนิดอื่น ให้คลิก งานนำเสนอ PowerPoint ทั้งหมด และเลือกประเภทของแฟ้มที่คุณต้องการดู

เปิดแฟ้ม PowerPoint 2010

ด้านบนของหน้า ด้านบนของหน้า

การบันทึกงานนำเสนอ

  1. คลิกแท็บ แฟ้ม แล้วคลิก บันทึกเป็น
  2. ในกล่อง ชื่อแฟ้ม พิมพ์ชื่อสำหรับงานนำเสนอ PowerPoint ของคุณ และคลิก บันทึก

 หมายเหตุ   ตามค่าเริ่มต้นแล้ว PowerPoint 2010 จะบันทึกแฟ้มในรูปแบบแฟ้ม PowerPoint Presentation (.pptx) เมื่อต้องการบันทึกงานนำเสนอของคุณในรูปแบบอื่นนอกเหนือจาก .pptx ให้คลิกรายการ บันทึกเป็นชนิด แล้วเลือกรูปแบบแฟ้มที่คุณต้องการ

บันทึกเป็นแฟ้มใน PowerPoint 2010

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการสร้างงานนำเสนอใหม่ ให้ดูที่ การตั้งชื่อและบันทึกงานนำเสนอของคุณ

ด้านบนของหน้า ด้านบนของหน้า

การแทรกภาพนิ่งใหม่

เมื่อต้องการแทรกภาพนิ่งใหม่ในงานนำเสนอของคุณ ให้ทำดังต่อไปนี้

  • บนแท็บ หน้าแรก ในกลุ่ม ภาพนิ่ง ให้คลิกลูกศรด้านล่าง สร้างภาพนิ่ง จากนั้นคลิกที่เค้าโครงภาพนิ่งที่คุณต้องการ

แท็บ หน้าแรก ใน PowerPoint 2010 ให้ดูที่กลุ่ม ภาพนิ่ง

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเพิ่มภาพนิ่งในงานนำเสนอของคุณ ให้ดูที่ การเพิ่ม การจัดเรียงใหม่ และการลบภาพนิ่ง

ด้านบนของหน้า ด้านบนของหน้า

การเพิ่มรูปร่างในภาพนิ่ง

  1. บนแท็บ หน้าแรก ในกลุ่ม รูปวาด ให้คลิก รูปร่าง

แท็บ หน้าแรก ใน PowerPoint 2010 ให้ดูที่กลุ่ม รูปวาด

  1. คลิกรูปร่างที่คุณต้องการ แล้วคลิกที่ใดก็ได้ในภาพนิ่ง และลากเพื่อวางรูปร่างนั้น

เมื่อต้องการสร้างสี่เหลี่ยมจัตุรัสหรือวงกลมที่สมบูรณ์ (หรือจำกัดรูปทรงของรูปร่างอื่น) ให้กด SHIFT ค้างไว้ในขณะที่คุณลาก

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเพิ่มรูปร่าง ให้ดูที่ การเพิ่ม การเปลี่ยนแปลง หรือการลบรูปร่าง

ด้านบนของหน้า ด้านบนของหน้า

การดูการนำเสนอภาพนิ่ง

เมื่อต้องการดูงานนำเสนอของคุณในมุมมองการนำเสนอภาพนิ่งตั้งแต่ภาพนิ่งแรก ให้ทำดังต่อไปนี้

  • บนแท็บ การนำเสนอภาพนิ่ง ในกลุ่ม เริ่มการนำเสนอภาพนิ่ง ให้คลิก ตั้งแต่ต้น

แท็บ การนำเสนอภาพนิ่ง ใน PowerPoint 2010 ให้ดูที่กลุ่ม เริ่มการนำเสนอภาพนิ่ง

เมื่อต้องการดูงานนำเสนอของคุณในมุมมองการนำเสนอภาพนิ่งตั้งแต่ภาพนิ่งปัจจุบัน ให้ทำดังต่อไปนี้

  • บนแท็บ การนำเสนอภาพนิ่ง ในกลุ่ม เริ่มการนำเสนอภาพนิ่ง คลิก จากภาพนิ่งปัจจุบัน

แท็บ การนำเสนอภาพนิ่ง ใน PowerPoint 2010 ให้ดูที่กลุ่ม เริ่มการนำเสนอภาพนิ่ง

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการดูการนำเสนอภาพนิ่ง ให้ดูที่ ควรใช้มุมมองใน PowerPoint 2010 เมื่อใดและอย่างไร

ด้านบนของหน้า ด้านบนของหน้า

การพิมพ์งานนำเสนอ

  1. คลิกแท็บ แฟ้ม แล้วคลิก พิมพ์
  2. ภายใต้ สิ่งที่พิมพ์ ให้เลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้
  • เมื่อต้องการพิมพ์ภาพนิ่งทั้งหมด ให้คลิก ทั้งหมด
  • เมื่อต้องการพิมพ์เฉพาะภาพนิ่งซึ่งแสดงในปัจจุบันเท่านั้น ให้คลิกที่ ภาพนิ่งปัจจุบัน
  • เมื่อต้องการพิมพ์ภาพนิ่งเฉพาะบางหน้า ให้คลิก ช่วงของภาพนิ่งแบบกำหนดเอง จากนั้นป้อนรายการภาพนิ่งแต่ละภาพ ช่วง หรือทั้งสองอย่าง

 หมายเหตุ   ใช้เครื่องหมายจุลภาคคั่นระหว่างตัวเลขโดยไม่ต้องเว้นวรรค ตัวอย่างเช่น 1,3,5-12

  1. ภายใต้ การตั้งค่าอื่นๆ ให้คลิกรายการ สี และเลือกการตั้งค่าที่คุณต้องการ
  2. เมื่อคุณทำการเลือกเรียบร้อยแล้ว ให้คลิก พิมพ์

แท็บ แฟ้ม ใน PowerPoint 2010 ให้ดูที่ พิมพ์

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการพิมพ์ ให้ดูที่ การพิมพ์ภาพนิ่งหรือเอกสารประกอบคำบรรยายสำหรับงานนำเสนอ

ด้านบนของหน้า ด้านบนของหน้า

เคล็ดลับสำหรับการสร้างงานนำเสนอที่มีประสิทธิผล

พิจารณาเคล็ดลับต่อไปนี้เพื่อใช้สร้างงานนำเสนอที่โดดเด่นและดึงดูดผู้ชมของคุณ

ใช้ภาพนิ่งจำนวนน้อยๆ

เมื่อต้องการให้ข้อความมีความชัดเจนและทำให้ผู้ชมติดตามและตรึงความสนใจของผู้ชม ให้ใช้จำนวนภาพนิ่งในงานนำเสนอของคุณให้น้อยที่สุด

เลือกขนาดแบบอักษรที่ผู้ชมอ่านได้ง่าย

การเลือกขนาดแบบอักษรที่เหมาะสมจะช่วยให้การสื่อสารข้อความของคุณได้ผลมากยิ่งขึ้น โปรดระลึกไว้อยู่เสมอว่า ผู้ชมต้องสามารถอ่านภาพนิ่งของคุณจากระยะไกลได้ โดยทั่วไป ขนาดแบบอักษรที่เล็กกว่า 30 อาจทำให้มองเห็นได้ยาก

ข้อความในภาพนิ่งของคุณควรเรียบง่าย

คุณต้องการให้ผู้ชมฟังการนำเสนอข้อมูลของคุณแทนที่จะอ่านจากหน้าจอ ใช้สัญลักษณ์แสดงหัวข้อย่อยหรือประโยคแบบสั้น และพยายามให้แต่ละประโยคอยู่ในบรรทัดเดียวกันโดยไม่มีการตัดข้อความ

เครื่องฉายภาพบางเครื่องจะครอบตัดภาพนิ่งที่ขอบ ทำให้ประโยคยาวๆ อาจถูกครอบตัดไปด้วย

ใช้ภาพเพื่อช่วยในการสื่อถึงข้อความของคุณ

รูปภาพ แผนภูมิ กราฟ และ กราฟิก SmartArt ช่วยในด้านการสื่อสารด้วยภาพที่ทำให้ผู้ชมของคุณสามารถจดจำได้ง่าย เพิ่มภาพที่มีความหมายเพื่อส่งเสริมเนื้อหาและข้อความบนภาพนิ่งของคุณ

อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับข้อความ ควรหลีกเลี่ยงการใช้สื่อด้านภาพจำนวนมากเกินไปในภาพนิ่งของคุณ

สร้างป้ายชื่อสำหรับแผนภูมิและกราฟที่เข้าใจได้ง่าย

ใช้ข้อความที่มีความยาวพอเหมาะที่ทำให้สามารถเข้าใจถึงองค์ประกอบป้ายชื่อในแผนภูมิหรือกราฟได้

ใช้พื้นหลังของภาพนิ่งที่เฉียบคมและสอดคล้อง

เลือกแม่แบบหรือชุดรูปแบบที่ดึงดูดและกลมกลืนกันโดยที่ไม่สะดุดตาเกินไป เนื่องจากคุณคงไม่ต้องการให้พื้นหลังหรือการออกแบบดึงความสนใจไปจากข้อความของคุณ

อย่างไรก็ตาม คุณควรเลือกสีของพื้นหลังและสีของข้อความที่ตัดกัน ชุดรูปแบบที่มีอยู่แล้วภายใน PowerPoint 2010 ตั้งค่าความคมชัดระหว่างพื้นหลังสีอ่อนและข้อความสีเข้ม หรือพื้นหลังสีเข้มและข้อความสีอ่อนโดยอัตโนมัติ

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการใช้ชุดรูปแบบ ให้ดูที่ การใช้ชุดรูปแบบเพื่อเพิ่มสีและลักษณะให้กับงานนำเสนอของคุณ

ตรวจสอบการสะกดคำและไวยากรณ์

เพื่อให้ได้การยอมรับนับถือจากผู้ชม ให้ตรวจสอบการสะกดและไวยากรณ์ในงานนำเสนอของคุณเสมอ

5 สิ่งที่ไม่ควรทำในการนำเสนองาน พร้อมวิธีแก้ไข

ภาพจาก http://blog.mbabasecamp.com

เดี๋ยวนี้เรามักจะพบเห็นได้กับการสัมมนาหรือนำเสนอผลงานต่างๆ ที่มีงานให้เข้าฟังอยู่เยอะแยะเต็มไปหมด (ซึ่งก็รวมกับของทาง thumbsup เองด้วยกับงาน Start it up) แน่นอนว่าสิ่งที่ทำให้เราอยากจะฟังสิ่งแรกนั่นก็คือหัวข้อที่เราจะนำเสนอ เมื่อจูงคนที่จะเข้ามาฟังได้แล้วขั้นตอนที่สำคัญที่สุดก็คือการนำเสนอเนื้อหาตามหัวข้อให้กับผู้ฟังให้ได้น่าสนใจ ซึ่งที่เจอมักจะตกม้าตายกันตรงนี้กันเยอะ บทความแปลนี้่เลยจะเป็นการแนะนำไม่ควรทำทั้งก่อนและระหว่างการนำเสนอ รวมทั้งบอกวิธีป้องกันและแก้ไขไว้ให้ด้วยครับ

อย่างที่ผมบอกไปว่า สิ่งที่พบเจออยู่แบบบ่อยๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่านั่นคือความผิดพลาดในการวางแผนจากการเตรียมตัวและนำเสนอเนื้อหาโดยผู้พูด 5 ข้อนี้เป็นสิ่งที่ต้องระลึกถึงและควรที่จะทำอยู่เสมอเมื่อมีการนำเสนองานต่างๆ ลองมาดูกันครับ

ข้อที่ 1 อาขยาน อ่านกระจุย

การขึ้นไปอ่าน (อาขยาน) ตามเนื้อหาที่มีบน PowerPoint หรือ Keynote เหมือนหุ่นยนต์ นี่เป็นสิ่งที่พบเห็นกันได้อยู่อย่างสม่ำเสมอ (ถ้าพูดถึงก็คือติดอันดับ 1 ตลอดกาล) จากการนำเสนองานของมือใหม่หัดนำเสนอหรือแม้กระทั่งคนที่ไม่ใช่มือใหม่แล้ว ก็ยังเลือกการนำเสนอแบบนี้ ซึ่งถ้าจะพูดไปแล้วก็ไม่ต่างกับการพิมพ์เนื้อหาทั้งหมดมาให้ผู้ฟังเอากลับบ้านไปอ่าน

วิธีแก้ไข

ควรต้องศึกษาเนื้อหาหรือสิ่งที่เราจะนำเสนอให้ดีและถ่องแท้เสียก่อน เนื้อหาบน PowerPoint หรือ Keynote เป็นเพียง Guide นำทางเพื่อเข้าสู่เนื้อหาที่แท้จริงที่เราจะเป็นคนนำเสนอ และเพื่อดึงความสนใจให้กับผู้ฟัง แทนที่

ข้อที่ 2 อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคอมฯ (และอุปกรณ์ทั้งหลาย)

อย่าไปไว้ใจกับอุปกรณ์ที่จะใช้นำเสนอที่แม้เราจะเป็นคนเตรียมเองก็ตาม เพราะเรามักจะเจอกับปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ที่ไม่สามารถใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ของเรา หรือแม้กระทั่งเครื่องคอมพิวเตอร์เราเองอาจจะม่องเท่งในเวลานั้นไปดื้อๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราไม่คาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้น

วิธีแก้ไข

ให้เวลากับอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อการซักซ้อมก่อนที่จะขึ้นไปนำเสนองาน โดยหากสามารถไปที่ห้องที่ใช้ในการนำเสนอได้ก่อนสัก 1 วันล่วงหน้าก็ให้ไปทดสอบอุปกรณ์ก่อนเลย แต่ถ้าไม่สามารถไปที่ห้องนั้นได้ก่อนวันจริง ให้ใช้เวลาก่อนสัก 10-30 นาทีเพื่อที่จะได้ทดสอบเครื่องและหากมีปัญหาจะยังพอมีเวลาในการคิดแผนสองรองรับไว้

ถ้าผมจะแนะนำเพิ่ม สำหรับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นกับไฟล์ อยากให้เก็บไฟล์ไว้ด้วยการส่งเข้าเมล์ตัวเองหรือเก็บไว้บน Cloud ครับ เผื่อป้องกันว่าหากมีเหตุที่ไม่สามารถใช้เครื่องของเราเองได้ ยังสามารถเข้าไปเปิดไฟล์ด้วยเครื่องอื่นๆ ได้ครับ

Image

ข้อที่ 3 อย่านอกเรื่องไปไกล

การที่จะนำเสนองานได้นั้น พื้นฐานสำหรับบางคนก็คือการเป็นคนชอบพูดชอบคุย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะทำให้คนดูไม่น่าเบื่อ แต่สิ่งที่อาจจะคาดไม่ถึงนั่นคือการหลุดจากสิ่งที่จะนำเสนอจริงๆ หรือพูดในสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับหัวข้อที่ตั้งเอาไว้มากจนเกินไป จนอาจทำให้คนที่ตั้งใจจะมาฟังสิ่งที่เขาต้องการนั้นผิดหวัง แถมยังอาจหมดเวลาโดยไม่รู้ตัว ทำให้ผู้พูดไม่ได้พูดสิ่งที่เป็นสาระสำคัญได้ทัน

วิธีแก้ไข

ระลึกอยู่เสมอว่าเรามีหัวข้อในการพูดที่ต้องการจะเน้นหรือ Focus ไว้เป็นที่ตั้ง การพูดให้ชัดเจนในหัวข้อตั้งแต่การปูเริ่มต้นเล่าเรื่อง, แก่นของเรื่อง จนถึงสรุปสุดท้ายของเรื่องว่าเป็นอย่างไร จะช่วยให้คนฟังสามารถเข้าใจและเข้าถึงสิ่งที่ผู้พูดต้องการจะสื่อได้อย่างง่ายๆ รวมทั้งการคำนวณเวลาในการพูดแต่ละหัวข้อว่าจะใช้เวลาเท่าไหร่ด้วยครับ

C11982590-30

 

ข้อที่ 4 อย่าเยอะ!

ฟังชื่อข้อที่ผมตั้งเองแล้วอาจจะดูทันสมัยไปเสียหน่อย ที่ผมหมายถึงก็คือในบางครั้งข้อมูลของผู้พูดเองนั้นมีปริมาณค่อนข้างมาก (ซึ่งผมเข้าใจว่าผู้ที่จะมาพูดก็ต้องมีความเจ๋งในระดับที่เหนือกว่าคนทั่วไปอยู่แล้ว) และก็เข้าใจว่าผู้พูดก็อยากจะพูดในสิ่งที่ตัวเองรู้หรือเตรียมตัวให้กับผู้ฟัง เนื่องด้วยปริมาณข้อมูลที่ป้อนหรือถ่ายทอดออกไปนั้นอาจมีมากจนเกินไป หรือคนฟังเองไม่สามารถรับรู้และเข้าใจได้ ผลที่ตามมาก็คือประเด็นที่สำคัญที่สุดนั้นอาจถูกกลืนจมหายไปกับข้อมูลปริมาณมหาศาลที่วิ่งเข้าไปถาโถมผู้พูด

วิธีแก้ไข

ถ่ายทอดข้อมูลต่างๆ ให้ออกมาในรูปแบบที่เข้าใจง่ายที่สุด ด้วยการใช้คำพูดและประโยคที่สามารถอ่านเพียงครั้งเดียวแล้วเข้าใจได้โดยทันที ซึ่งสิ่งนี้ขึ้นอยู่กับศาสตร์และเทคนิคในการนำเสนอของผู้พูด ถ้าจะให้ยกตัวอย่างง่ายๆ ที่เห็นภาพชัดที่สุดก็คงเป็นการนำเสนอผลิตภัณฑ์ของทาง Apple ผ่านทาง Keynote ที่เขามักจะดึงเอาข้อความเด็ดๆ มาเพียงไม่กี่คำหรือไม่กี่ประโยคมาบรรยายสิ่งที่เขาอยากจะสื่อ โดยทำให้ทุกคนเข้าใจไปในทางเดียวกันแทบจะทั้งหมด

สำหรับข้อมูลในส่วนที่เป็นส่วนเสริมที่มีความสำคัญรองลงมาจากใจความหลัก ให้เก็บเพื่อนำไปขยายความไว้ในช่วงถามตอบ (Q&A) น่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดครับ

Image

ข้อที่ 5 ใช้ตัวอักษรบนหน้าสไลด์ให้น้อยที่สุด

ข้อนี้จะใกล้เคียงกับข้อแรกและข้อที่ 4 คราวนี้มาดูในด้านของการนำเสนอบน Powerpoint หรือ Keynote เพราะมันคือสิ่งที่จะช่วยนำให้ทั้งผู้นำเสนอและผู้ฟังได้รับรู้ว่าจะมีเรื่องราวอะไรถูกพูดถึงบ้าง ซึ่งสิ่งที่เจอในบางครั้งนั้น มีตัวอักษรเต็มไปหมด ก็เข้าใจว่าผู้พูดนั้นอยากจะบอกสรรพคุณหรือบอกสิ่งต่างๆ ที่อยากให้คนอื่นรู้ ซึ่งนี่จะทำให้เกิดปัญหาว่าผู้พูดจะถูกสไลด์ที่มีแต่ตัวอักษรกลืนไปแบบไม่รู้ตัว เพราะผู้ฟังจะเอาแต่สนใจตัวอักษรที่มีอยู่ล้นทะลักในหน้าสไลด์ไปโดยปริยาย…

ลองนึกสภาพแค่ 20 สไลด์ที่ประกอบด้วยตัวอักษรล้วนๆ แค่คิดก็สยองแล้ว…

วิธีแก้ไข

ลดการใช้ตัวอักษร แต่ให้เล่าเรื่องราวหรือแทนคำต่างๆ ด้วยรูปภาพที่สื่อความหมายและเหมาะสมกับสิ่งที่เราต้องการเป็นตัวช่วย วิธีนี้จะช่วยให้สื่อสารกับคนที่ฟังได้ง่ายขึ้น แต่รูปภาพอย่างเดียวก็คงสื่อความหมายของตัวเลขหรือหัวข้อแต่ละอย่างไม่ได้แน่ๆ ดังนั้นโดยส่วนใหญ่เราจะเห็นการใช้รูปภาพประกอบกับเนื้อหาที่เป็นแก่นสารควบคู่กันไป

ตัวอย่างการใช้รูปภาพประกอบกับข้อมูลครับ


applewwdc2012liveblog3737-582x387iPhone-5-A6-Chip-Has-1GB-of-1066MHz-RAM-2

—————————————————————\\\\\\\\\\\\\\\\\\\\————————————————————————

ทั้งหมดคือ 5 ข้อดูแล้วคงเป็นสิ่งเบื้องต้นสำหรับผู้ที่จะต้องทำการนำเสนอผลงานของตนที่มีอยู่ หรือใช้ในการสอนหรือการพูดในที่ต่างๆ ได้ สำหรับตัวผมเองก็ต้องยอมรับว่าผมยังทำทั้ง 5 ข้อนี้ได้ไม่ถึง 70% เลย ซึ่งของพวกนี้ต้องอาศัยการฝึกฝนและประสบการณ์ในการพูดและการจัดการ

ขั้นตอนการทำ Presentation ด้วย PowerPoint

  1. วางแผน (Planning) – ต้องคิดให้ดีทั้ง เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กลุ่มผู้ฟัง สถานการณ์ และรูปแบบการนำเสนอที่จะต้องใช้
  2. เริ่มสร้างงานนำเสนอ (Create Presentation) – เลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสม อย่าง Microsoft PowerPoint ก็เป็นโปรแกรมที่ช่วยให้งานนำเสนอเรามีความน่าสนใจ และ เป็นสากล ใช้งานง่าย มีเทคนิคตั้งแต่ระดับต้นจนถึงระดับสูง
  3. ใส่เนื้อหา (Insert Content) – ทำการใส่เนื้อหาเข้ามา โดยยังไม่เน้นเรื่องการตกแต่ง เนื้อหาได้แก่ ข้อความ รูปภาพ กราฟฟิค เสียง วีดิโอ เป็นต้น
  4. จัดรูปแบบ (Formatting) – จัดรูปแบบของสไลด์ให้น่าสนใจ โดยหากใช้ PowerPoint จะต้องรู้จักเรื่องการทำ Theme ของตัวเอง เพื่อให้เป็นสไตล์ของตนเอง และ การปรับเปลี่ยนได้ง่าย (เพราะเราแยกระหว่างเนื้อหาและการตกแต่ง)
  5. จัดแอนนิเมชั่น (Animation) – จัดให้การนำเสนอดูน่าสนใจ หรือสำหรับเนื้อหาบางอย่างที่ต้องสื่อสารด้วยการทำการเคลื่อนไหว
  6. เริ่มการนำเสนอ (Present) – ในส่วนนี้จะต้องรวมถึงการซ้อมการนำเสนอ แล้วทำการนำเสนออย่างมืออาชีพ โดย Microsoft PowerPoint มีเทคนิค ต่าง ๆ ที่จะให้การนำเสนอน่าสนใจ เช่นการทำหน้าจอมืด เพื่อดึงความสนใจของผู้ชม การใช้ปากกา หรือการทำ เลเซอร์ (Laser Pointer) ก็สามารถทำได้ 

PowerPoint Tip : Short Cut ใน ขณะ Present

การใส่ YouTube Video ใน Microsoft PowerPoint 2010

วิธีการ
โดยสามารถคลิกที่ Insert > Video > Video from Web Site …
ใส่ URL ที่ได้จาก Youtube โดย

  1. เปิด Video ที่ต้องการ
  2. คลิกที่ Share…
  3. คลิกปุ่ม Embed
  4. เลือก  Use old embed code [?]
  5. Copy ข้อความดังกล่าวมา  ตัวอย่างเช่น
  6. นำโค้ดดังกล่าวมาใช้ตอนที่ ใส่ Video from Web Site…
  7. กดปุ่ม Insert

10 ข้อผิดพลาดที่ควรหลีกเลี่ยง ในการใช้รูปภาพประกอบการทำสไลด์

 

1. เลือกใช้ภาพที่”เล็กเกินไป” – ปกติหน้าจอเวลาฉายออกเครื่องโปรเจ็กเตอร์จะมีขนาดสไลด์ 800 x 600 แต่ลองดูตัวอย่างที่ให้มานะคะ ภาพที่ใช้ มีขนาดแค่ 183 x 152 ซึ่งการวางองค์ประกอบก็ไม่เหมาะสมแล้วค่ะ เลยทำให้ เนื้อความที่จะสื่อดูแค่ผ่านตา ไม่รู้สึกว่ามันจะสำคัญยังไงเลย

2. ปัญหาเรื่องการวางรูปไม่ถูกตำแหน่ง – จากตัวอย่างรูปภาพมีขนาดใหญ่ มองเห็นได้ง่าย แต่ตัวเลขที่เราจะสื่อความหมายมันมีบางตัวเข้าไปอยู่ในภาพ จึงให้ความรู้สึกว่า “ตกลงมันตั้งใจติสท์” หรือยังไงกันแน่ การวางรูปในสไลด์นี้จึงให้ความรู้สึกว่า “มันวาง…มั่วแน่นอน” องค์ประกอบของเนื้อหาจึงอาจทำให้ขัดๆต่อความรู้สึกของคนดู ในการตั้งคำถามแม้จะไม่เกี่ยวกับเนื้อหาก็ตาม..

3.  รูปภาพใหญ่ดีดูเกือบเต็มจอ แต่ทำไมไม่ทำให้มันเต็มไปเลยอ่ะ – อย่างที่เจ๊แซนบอกในตอนแรกๆนะคะ ว่าเราต้อง”ใส่ใจ” จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่า เราเน้นให้รูปขยายจนเป็น background แต่เมื่อนำไปฉายออกเครื่องแล้ว ภาพที่สื่อมันดูมาแบบไม่ครบ มาแบบไม่สมบูรณ์ บางครั้งต้องระวัง background สีพื้นหลังที่ตั้งเป็นค่าเริ่มต้นด้วย บางคนอาจตั้งพื้นหลังเป็นสีขาว หรือสีดำ สังเกตสีของขอบภาพดีๆวิธีแก้ไขคือ เราต้องไปตั้งค่า ขนาดหน้าจอให้พอดีกับ เครื่องคอมของเรา เช่น คอมเจ๊เป็นแบบ widescreen ขนาดของสไลด์ที่เจ๊ใช้ คือ on screen show 16:9

4. เลือกรูปที่มีความละเอียดของภาพต่ำ – เห็นได้เลยว่า ภาพจะเบลอและแตก ความคมชัดก็หาไม่ได้ ดูแล้วขัดตาเจ๊แซนชมัด … เป็นเจ๊นะ จะสอยเอารูปลง โชว์มันแต่ตัวเลข ยังดูดีกว่าอีกเนอะ

 

5. ภาพที่ขโมย หรือ จิ๊กของคนอื่นมา – จริงๆแล้ว เจ๊แซนก็ชอบหาของฟรีนะคะ แต่ตัวอย่างนี้ ประเภทอยากได้แต่ไม่ซื้อ ขอก๊อปมาใช้ซักหน่อย … มาเป็นลายน้ำเลยค่ะ ประมาณว่า “ตูไม่ซื้อ” แต่โลโก้ของเจ้าของเค้าโชว์หราออกอย่างนี้ ก็ใช้ไม่ได้นะค๊า ควรหลีกเลี่ยงอย่างแร๊งงงง

 

6. ขยายภาพผิดส่วน – คนที่พลาดส่วนใหญ่มักจะไม่ค่อยมีหัวทางด้านศิลปะซักเท่าไหร่ ขอให้ได้ยืด-ขยายตามใจฉัน ดูตัวอย่างนะคะ ทางซ้ายยืดยาวซะเหมือน”น้องเปรตสาว…แต่งตัวไปเรียน” ส่วนขวามือ “หดเป็นคนแคระ” เลยค่ะ ภาพผิดส่วนเจ๊แซนเห็นบ่อยมาก ทางที่ดีหลีกเลี่ยงดีกว่านะคะ วิธีแก้ปัญหาคือให้ย่อ-ขยายที่มุมภาพ จะลดปัญหาการผิดส่วนได้ดีทีเดียว จริงๆแล้วเจ๊แซนมีเทคนิคการใช้โปรแกรม PowerPoint อีกเพียบรอต่อไปนะคะ เดี๋ยวจะแชร์ให้ในรอบไหนก็ไม่รู้ ..อิอิ

7. การทำให้ภาพกลายเป็นพื้นหลังไปเลย – ดูกันเอาเองเลยนะคะว่าบางครั้งการใช้โปรแกรมทำให้รูปกลายเป็นพื้นหลัง ไม่ได้หมายความว่า มันจะฉลาดทำรูปที่เราเลือก ย่อหรือขยายได้ตามอัตราส่วนของเราเสมอไป สิ่งที่เราจะเจอคือโปรแกรมจะนำภาพที่เราเลือก มาปะต่อกันซึ่งจะเรียงกันมากน้อยแต่ไหนก็ขึ้นอยู่กับขนาดของภาพเรานั่นเองค่ะ
8. การเลือกใช้รูปภาพ clipart – เจ๊แซนออกตัวก่อนนะคะว่าไม่ได้กัดใคร .. คือว่า ที่เจ๊เรียนมา กูรูทางนี้เค้าบอกว่าใครที่เลือกใช้ภาพ clipart ในการทำสไลด์เนี่ยะ แสดงว่าหลุดมาจากอดีตชาติเลยทีเดียว..เชียว เพราะมันทำให้ดูตลกแล้ว ความน่าสนใจก็บิยหายไปกับ นกกระสาเลยค่ะ … คิดได้ไงเนี่ยะ อัตราการมีบุตรลดจำนวนลง เลือกนกกระสาคาบทารกน้อย …. ดูน่ารักดีค่ะ แต่เจ๊แซนให้กลับไปแก้งานเดี๋ยวนี้เลย ไม่ผ่าน ไม่ผ่าน
9. เลือกรูปไม่เหมาะกับเนื้อหา – แหม เราพูดกันเรื่องอัตราการเกิดใหม่มันลดลง แต่ภาพพื้นหลังที่เป็นรูปแผนที่ ถ้าจะทำให้ประเทศญี่ปุ่นเด่นขึ้นมา ก็ผ่านนะคะ แต่ตัวอย่างนี้ ประเทศญี่ปุ่นอยู่ไหนก็ไม่รู้ แถมยังมีมือผู้ชายจับกันอีก ถ้าเสนอในเชิงธุรกิจ ผ่านฉลุย แต่อัตราการเกิด มันคงเป็น”ศูนย์” ก็ชัวร์ล่ะ ชายกับชาย ได้กันยังไงท้องได้ที่ไหนล่ะใช่ป่ะ ….. อย่าพลาดเลือกรูปที่ไม่เหมาะกับเนื้อหาของเรานะคะ ตกม้าตายชัดๆ ดีไม่ดี อาจแอบจินตนาการพิลึกๆอย่างเจ๊แซนขึ้นมา อย่ามาโทษกันล่ะ

10. ภาพประกอบพื้นหลังลายตามากเกินไป – บางครั้งอาจดึงจุดเด่น นั่นก็คือเนื้อหาลดลงไปด้วยหากคุณคิดที่จะเลือกภาพพื้นหลังที่ดูลายตา หลากหลายสีสัน หากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริงๆ การจะทำให้เนื่้อหาเด่นขึ้นมา เราต้องทำพื้นหลังตัวอักษร เพื่อที่จะให้ตัวอักษรเห็นได้ชัดและสื่อความหมายได้

สแกนเนอร์ (Scanner)

สแกนเนอร์ (Scanner)

Image

 

สแกนเนอร์ (Scanner)

        เป็นอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลประเภทที่ไม่สะดวกในการป้อนเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ทางคีย์บอร์ดได้ เช่น ภาพโลโก้ วิวทิวทัศน์ ภาพถ่ายรูปคน สัตว์ ฯลฯ เราสามารถใช้สแกนเนอร์สแกนภาพเพื่อแปลงเป็นข้อมูลเข้าไปสู่เครื่องได้โดยตรง หน่วยประมวลผลจะนำข้อมูลที่ได้รับมานั้นแสดงเป็นภาพให้ปรากฏอยู่บนจอภาพ เพื่อนำมาแก้ไขสี รูปร่าง ตัดแต่ง และนำภาพไปประกอบงานพิมพ์อื่นๆ ได้ การทำงานของสแกนเนอร์อาศัยหลักของการสะท้อนแสง โดยเมื่อเราวางภาพลงไปในสแกนเนอร์ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะวิธีการใช้งานของสแกนเนอร์แต่ละแบบว่าจะใส่ภาพเข้าไปอย่างไร สแกนเนอร์จะทำการฉายแสงไปกระทบกับวัตถุให้สะท้อนไปตกบนตัวรับแสงทีละแถว ข้อมูลในแถวนั้นๆ ก็จะถูกแปลงเป็นจุดเล็กๆ ในลักษณะสัญญาณดิจิตัลเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ เมื่อต้นกำเนิดแสงและตัวรับแสงเลื่อนไปยังภาพแถวต่อไป สัญญาณที่ได้จากแถวต่อมาก็จะถูกส่งต่อเนื่องกันไปจนสุดภาพ